วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์






             อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกโบราณใน ระยะต้นนั้นส่วนใหญ่ก็คืออารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทั้งนี้เพราะการสร้างอารยธรรมในยุคแรกนั้นมีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ เนื่องจากประชากรในยุคนั้นต้องอาศัยน้ำทั้งในการดำรงชีวิตและเพื่องาน เกษตรกรรม การคมนาคมส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้แหล่งอารยธรรมโบราณของโลกจึงอยู่ที่บริเวณแม่น้ำใหญ่ 4 แห่ง คือ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟรตีส บริเวณแม่น้ำสินธุ และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง อารยธรรมในบริเวณนี้เป็นอารยธรรมเกษตรกรรม เนื่องจากต้องอาศัยการดำรงชีวิตอยู่ใกล้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น 


ก. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ นัก ประวัติศาสตร์กรีกท่านหนึ่งคือ เฮโรโดตัส (Herodotus:484-425 B.C.) กล่าวถึงอียิปต์ว่าเป็น a gift of the Nile เพราะ ถือว่าแม่น้ำไนล์นั้นคือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ เพราะตามปกติอียิปต์จะเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เพราะล้อมรอบด้วยทะเลทราย มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์จึงได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ ในราวเดือนกรกฎาคมของทุกปีน้ำจากแม่น้ำจะไหลล้นฝั่งทั้งสองและเริ่มลดลงใน เดือนตุลาคม เมื่อน้ำลดลงก็จะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำ โคลนตมเหล่านี้จเป็นปุ๋ยช่วยให้พืชเจริญงอกงาม ฉะนั้น ถ้าขาดแม่น้ำไนล์เสียอียิปต์ก็จะกลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุ ด้วยเหตุที่แม่น้ำไนล์ให้ความอุดมสมบูรณ์นี้อารยธรรมของอียิปต์จึงเป็น อารยธรรมที่เกิดจากการเกษตรกรรม
อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงนี้เชื่อ ว่าเป็นเพราะอิทธิพลของของฟาโรห์ พระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้า Ma'at ซึ่งหมายความว่า harmony นั่นคือเป็นผู้เดียวที่เข้าใจถึงความสอดคล้องต้องกันของจักรวาล เพราะฉะนั้นการปกครองของอียิปต์ในระยะแรกจึงมาในรูปของกษัตริย์เทวาธิปไตย ในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็จะดำรงตำแหน่งโฮรัส (Horus) พระบุตรของโอสิริส (Osiris) เมื่อ สิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอสิริส กล่าวคือเป็นเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่งเพราะฉะนั้นกษัตริย์อียิปต์ทุกพระองค์ เมื่อได้มีการทำพิธีฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอสิริสทุกพระองค์และ เมื่อนั้นก็จะมีการช่วยเหลือข้าราชบริพารของพระองค์ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ อีกด้วย

 
ข. ประวัติศาสตร์การเมืองของอียิปต์ นักปราชญ์ผู้ทำการศึกษาเรื่องราวของอียิปต์โดยเฉพาะคือ จอห์น เอ วิลสัน (John A. Wilson) บันทึกไว้ว่า:-

          "การเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการต่างๆ นั้น น้ำจะเกิดขึ้นภายในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์เอง กล่าวคือฝูงสัตว์จากบริเวณที่สูง รวมทั้งคนด้วย คงจะล่องมาตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหาแหล่งที่มีพืชผลอุดมสมบูรณ์ ตามกันลงมาจนทั้งสองฝ่ายรู้จักกันดีขึ้น คนรู้ว่าสัตว์บางชนิดควรเลี้ยงไว้ใ่กล้สัตว์เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารในวันหน้า พืชบางชนิดก็อาจขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากขึ้น เพื่อเลี้ยงทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ด้วย"
         จะเห็นได้ว่าการเรียนเรื่องอียิปต์นั้นก็คือการเรียนเรื่องการรวมประเทศให้ อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวตั้งแต่ประมาณ 3000 B.C. ถึง 2000 B.C. จนถึงสมัยที่ถูกเปอร์เซียรุกรานเมื่อปี 525 B.C. นับเป็นวงจรอารยธรรมแท้ๆ ซึ่งแต่ละสมัยจะมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในระหว่างสมัยเชื่อมแต่ก็จะมีการแทรกแซงด้วยเหตุการณ์ เช่น การรุกรานจากภายนอก เป็นต้น นักมานุษย์วิทยาได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องราวของอียิปต์ถอยหลังไปถึงสมัยเริ่ม ต้นของพวกอัฟริกัน จนถึงสมัยการรุกรานของพวกเซมิติคแยกออกเป็นชาติกุลแบ่งแยกกันปกครอง ในสมัยต้นนี้ได้มีงานฝีมือแล้ว ส่วนใหญ่ทำด้วยดินโคลนและหินรวมทั้งการสร้างปฏิทินมี 365 วัน ซึ่งในสมัยจูเลียส ซีซาร์ ถูกนำมาดัดแปลงใช้หลังจากนั้นถึง 3000 ปี และยังสืบเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ด้วย 


          อียิปต์ โบราณ หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์นี้เอง เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือเมื่อประมาณ 6000 ปี มาแล้ว ประชาชนบริเวณนี้ได้เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะธรรมชาติและนำทรัพยากร ธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ มีรัฐบาลที่เป็นระเบียบมีความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ตลอดจนมีศิลปและวรรณคดีชั้น สูง อารยธรรมนี้ก็เจริญและยั่งยืนอยู่เป็นเวลานาน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อารยธรรมเจริญอยู่เป็นเวลานานก็เพราะสภาพภูมิประเทศ 


1. การที่อิยิปต์ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทั้งทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกตลอดจนการที่แม่น้ำไนล์มี แก่งโจน(Catarats) ตั้งแต่ปากน้ำจนสุดสายแม่น้ำซึ่งยาวประมาณ 700 ไมล์ ทำให้เป็นการยากแก่ศัตรูภายนอกที่จะเข้ารุกราน มีทางเดียวเท่านั้นที่ศัตรูจะเข้ามารุกรานอียิปต์ได้คือเดลต้าที่เชื่อมทวีป อัฟริกากับเอเซียคือตรงบริเวณทะเลแดง แต่ก็ป้องกันได้ง่าย
2. การ ที่แม่น้ำไนล์ท่วมฝั่งทุกปี ทำให้ประชาชนที่เข้าอยู่บริเวณนี้ต้องพยายามหาทางที่จะเอาชนะธรรมชาติจึง เกิดความร่วมมือกันทำงาน เช่น มีการชลประทาน มีการขุดคูส่งน้ำ เมื่อมีคนมาอยู่มากก็ต้องมีรัฐบาลปกครองเพื่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุข นอกจากนี้ความอุดมสมบูรณ์ที่ได้รับจากแม่น้ำไนล์ก็ยังมีส่วนทำให้ชาวอียิปต์ มีจิตใจที่จะคิดค้นและสร้างสมศิลปวัฒนธรรมและวรรรณคดีต่างๆ 








อียิปต์และแม่น้ำไนล์
เรื่อง ราวของอียิปต์ก็คือเรื่อง ราวของแม่น้ำไนล์ เป็นคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ด้วยเหตุว่าดินแดนอันเป็นประจำทุกปีนั้น แม่น้ำไนล์จะนำเอาปุ๋ยอันโอชะขึ้นไปลาดไว้บนทั้งสองฝั่งน้ำ ทำให้ดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นดินอุดม มีพืชพันธ์ธัญญาหารเกิดขึ้นได้งอกงาม และตามลุ่มน้ำอันมีอาณาเขตแคบๆ ซึ่งบางแห่งกว้างประมาณสิบไมล์เท่านั้นเอง นี้แหละที่อารยธรรมของอียิปต์ได้เจริญงอกงามขึ้นและเกิดนครใหญ่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนหลายต่อหลายนคร นอกจากจะอำนวยปุ๋ยอันโอชะให้ดังกล่าวแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังเป็นเส้นทางคมนาคมของประเทศและนำออกสู่ทะเลใหญ่อีกด้วย
ความ ก้าวหน้าในอารยธรรมของอียิปต์ ขั้นแรกที่เราทราบก็คือ อารยธรรมที่เกี่ยวกับวิธีการทำนาของเขา โดยเหตุที่ในอียิปต์นั้นฝนแทบจะไม่ตกเลย ชาวนาจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีทำให้นาของตนมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ในอียิปต์ภาคสูง คือในตอนต้นน้ำไนล์มีฝนตกชุกในฤดูสปิง เมื่อฝนไหลท่วมท้นมาและล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำนั้นชาวอียิปต์ก็หาวิธีที่จะขัง น้ำนี้ไว้ใช้ในฤดูน้ำลด และถ่ายเทไปตามคูเล็กๆ ซึ่งตัดผ่านไปตามท้องไร่ท้องนา นี้เป็นเครื่องมืออันแรกอันหนึ่ง ที่มนุษย์คิดขึ้นสู้กับธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น