วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บทนำ

บทนำ




                      อียิปต์ เป็นดินแดนที่น่าพิศวงมากประเทศหนึ่ง คนทั่วไปมองว่าอารยธรรมอียิปต์มีความเชื่อที่เล้นลับแฝงอยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ซ่อนความเจริญด้านต่างๆ ไว้อย่างมากมายด้วยเช่นกัน เมื่อย้อนมาพิจารณาดูว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อียิปต์มีความรุ่งเรือง และถึงกับเป็นดินแดนที่น่าพิศวง ตลอดจนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญมากมาย เช่น ปิรามิค วิหารขนาดใหญ่ เป็นต้น

ที่ตั้ง ภูมิประเทศ

ที่ตั้ง ภูมิประเทศ





                    อียิปต์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ในสมัยโบราณบริเวณที่ีมีผู้คนอาศัยอยู่ได้แก่ ดินแดนที่อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ ทิศเหนือคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกคือทะเลแดง ทิศใต้คือประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบัน ส่วนทิศตะวันตกคือทะเลทรายซะฮารา อียิปต์โบราณประกอบด้วยบริเวณสองแห่งคืออียิปต์บน (Upper Egypt) และอียิปต์ล่าง (Lower Egypt) อียิปต์บนได้แก่ บริเวณที่มีแม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ 500 ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตา เต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ อียิปต์ล่าง ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เดลต้า เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำมีความยาวประมาณ 200 ไมล์ และกว้างระหว่าง 6-22 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้
          อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็น บริเวณกว้าง เมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูก
          ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ยซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำ มาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน กล่าวคือมีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์ แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย หากแต่ร่วมกันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือ กษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh)  



          สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้กษัตริย์อียิปต์สามารถรวบรวม และปกครองดินแดนทั้งหมดไว้ได้อย่างมั่นคงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ 


(1) ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก หรือพวกเอเซียทางทิศตะวันออกและพวกนูเบียจากทิศใต้ การป้องกันตนเองจึงไม่ใช่ปัญหาน่าหนักใจสำหรับผู้ปกครองอียิปต์
(2) แม่ น้ำไนล์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง และระบบประสาทในการรวมดินแดนเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่เรือแพล่องไปมาได้สะดวก โดยอาศัยการควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำไนล์ ผู้ปกครองก็สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน และการถ่ายเทของสินค้าได้โดยอัตโนมัติ และอาศัยแม่น้ำไนล์เป็นเส้นทางคมนาคม สำหรับการเดินเรือไปเก็บภาษีอากรจากประชาชนตลอดจนเป็นเส้นทางเดินทัพ นอกจากนี้การที่เขตอุดมสมบูรณ์จำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นแนวยาว ตามสองฟากฝั่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณนี้ก็ยังเอื้อให้ การปกครองประชาชนเป็นไปโดยง่าย
ความอุดมสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอที่ อียิปต์ได้รับจากแม่น้ำไนล์ ด้วยเหตุนี้นักภูมิศาสตร์ จึงเรียกอียิปต์ว่า ดอกผลแห่งแม่น้ำไนล์ (Gift of the Nile) ประกอบ กับสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นปราการป้องกันศัตรูจากภายนอกทำให้ชาวอียิปต์ โบราณมีความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัย มองไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงชีวิตดำเนินไปเหมือนกันหมด พลังผักดันจากภายนอกที่จะให้มีความปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมีอยู่น้อยมาก ด้วยเหตุนี้อารยธรรมอียิปต์จึงเจริญติดต่อกันมาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงระยะเวลาอันยาวนาน

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์






             อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกโบราณใน ระยะต้นนั้นส่วนใหญ่ก็คืออารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทั้งนี้เพราะการสร้างอารยธรรมในยุคแรกนั้นมีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ เนื่องจากประชากรในยุคนั้นต้องอาศัยน้ำทั้งในการดำรงชีวิตและเพื่องาน เกษตรกรรม การคมนาคมส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้แหล่งอารยธรรมโบราณของโลกจึงอยู่ที่บริเวณแม่น้ำใหญ่ 4 แห่ง คือ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟรตีส บริเวณแม่น้ำสินธุ และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง อารยธรรมในบริเวณนี้เป็นอารยธรรมเกษตรกรรม เนื่องจากต้องอาศัยการดำรงชีวิตอยู่ใกล้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น 


ก. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ นัก ประวัติศาสตร์กรีกท่านหนึ่งคือ เฮโรโดตัส (Herodotus:484-425 B.C.) กล่าวถึงอียิปต์ว่าเป็น a gift of the Nile เพราะ ถือว่าแม่น้ำไนล์นั้นคือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ เพราะตามปกติอียิปต์จะเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เพราะล้อมรอบด้วยทะเลทราย มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์จึงได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ ในราวเดือนกรกฎาคมของทุกปีน้ำจากแม่น้ำจะไหลล้นฝั่งทั้งสองและเริ่มลดลงใน เดือนตุลาคม เมื่อน้ำลดลงก็จะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำ โคลนตมเหล่านี้จเป็นปุ๋ยช่วยให้พืชเจริญงอกงาม ฉะนั้น ถ้าขาดแม่น้ำไนล์เสียอียิปต์ก็จะกลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุ ด้วยเหตุที่แม่น้ำไนล์ให้ความอุดมสมบูรณ์นี้อารยธรรมของอียิปต์จึงเป็น อารยธรรมที่เกิดจากการเกษตรกรรม
อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงนี้เชื่อ ว่าเป็นเพราะอิทธิพลของของฟาโรห์ พระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้า Ma'at ซึ่งหมายความว่า harmony นั่นคือเป็นผู้เดียวที่เข้าใจถึงความสอดคล้องต้องกันของจักรวาล เพราะฉะนั้นการปกครองของอียิปต์ในระยะแรกจึงมาในรูปของกษัตริย์เทวาธิปไตย ในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็จะดำรงตำแหน่งโฮรัส (Horus) พระบุตรของโอสิริส (Osiris) เมื่อ สิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอสิริส กล่าวคือเป็นเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่งเพราะฉะนั้นกษัตริย์อียิปต์ทุกพระองค์ เมื่อได้มีการทำพิธีฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอสิริสทุกพระองค์และ เมื่อนั้นก็จะมีการช่วยเหลือข้าราชบริพารของพระองค์ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ อีกด้วย

 
ข. ประวัติศาสตร์การเมืองของอียิปต์ นักปราชญ์ผู้ทำการศึกษาเรื่องราวของอียิปต์โดยเฉพาะคือ จอห์น เอ วิลสัน (John A. Wilson) บันทึกไว้ว่า:-

          "การเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการต่างๆ นั้น น้ำจะเกิดขึ้นภายในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์เอง กล่าวคือฝูงสัตว์จากบริเวณที่สูง รวมทั้งคนด้วย คงจะล่องมาตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหาแหล่งที่มีพืชผลอุดมสมบูรณ์ ตามกันลงมาจนทั้งสองฝ่ายรู้จักกันดีขึ้น คนรู้ว่าสัตว์บางชนิดควรเลี้ยงไว้ใ่กล้สัตว์เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารในวันหน้า พืชบางชนิดก็อาจขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากขึ้น เพื่อเลี้ยงทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ด้วย"
         จะเห็นได้ว่าการเรียนเรื่องอียิปต์นั้นก็คือการเรียนเรื่องการรวมประเทศให้ อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวตั้งแต่ประมาณ 3000 B.C. ถึง 2000 B.C. จนถึงสมัยที่ถูกเปอร์เซียรุกรานเมื่อปี 525 B.C. นับเป็นวงจรอารยธรรมแท้ๆ ซึ่งแต่ละสมัยจะมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในระหว่างสมัยเชื่อมแต่ก็จะมีการแทรกแซงด้วยเหตุการณ์ เช่น การรุกรานจากภายนอก เป็นต้น นักมานุษย์วิทยาได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องราวของอียิปต์ถอยหลังไปถึงสมัยเริ่ม ต้นของพวกอัฟริกัน จนถึงสมัยการรุกรานของพวกเซมิติคแยกออกเป็นชาติกุลแบ่งแยกกันปกครอง ในสมัยต้นนี้ได้มีงานฝีมือแล้ว ส่วนใหญ่ทำด้วยดินโคลนและหินรวมทั้งการสร้างปฏิทินมี 365 วัน ซึ่งในสมัยจูเลียส ซีซาร์ ถูกนำมาดัดแปลงใช้หลังจากนั้นถึง 3000 ปี และยังสืบเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ด้วย 


          อียิปต์ โบราณ หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์นี้เอง เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือเมื่อประมาณ 6000 ปี มาแล้ว ประชาชนบริเวณนี้ได้เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะธรรมชาติและนำทรัพยากร ธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ มีรัฐบาลที่เป็นระเบียบมีความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ตลอดจนมีศิลปและวรรณคดีชั้น สูง อารยธรรมนี้ก็เจริญและยั่งยืนอยู่เป็นเวลานาน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อารยธรรมเจริญอยู่เป็นเวลานานก็เพราะสภาพภูมิประเทศ 


1. การที่อิยิปต์ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทั้งทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกตลอดจนการที่แม่น้ำไนล์มี แก่งโจน(Catarats) ตั้งแต่ปากน้ำจนสุดสายแม่น้ำซึ่งยาวประมาณ 700 ไมล์ ทำให้เป็นการยากแก่ศัตรูภายนอกที่จะเข้ารุกราน มีทางเดียวเท่านั้นที่ศัตรูจะเข้ามารุกรานอียิปต์ได้คือเดลต้าที่เชื่อมทวีป อัฟริกากับเอเซียคือตรงบริเวณทะเลแดง แต่ก็ป้องกันได้ง่าย
2. การ ที่แม่น้ำไนล์ท่วมฝั่งทุกปี ทำให้ประชาชนที่เข้าอยู่บริเวณนี้ต้องพยายามหาทางที่จะเอาชนะธรรมชาติจึง เกิดความร่วมมือกันทำงาน เช่น มีการชลประทาน มีการขุดคูส่งน้ำ เมื่อมีคนมาอยู่มากก็ต้องมีรัฐบาลปกครองเพื่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุข นอกจากนี้ความอุดมสมบูรณ์ที่ได้รับจากแม่น้ำไนล์ก็ยังมีส่วนทำให้ชาวอียิปต์ มีจิตใจที่จะคิดค้นและสร้างสมศิลปวัฒนธรรมและวรรรณคดีต่างๆ 








อียิปต์และแม่น้ำไนล์
เรื่อง ราวของอียิปต์ก็คือเรื่อง ราวของแม่น้ำไนล์ เป็นคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ด้วยเหตุว่าดินแดนอันเป็นประจำทุกปีนั้น แม่น้ำไนล์จะนำเอาปุ๋ยอันโอชะขึ้นไปลาดไว้บนทั้งสองฝั่งน้ำ ทำให้ดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นดินอุดม มีพืชพันธ์ธัญญาหารเกิดขึ้นได้งอกงาม และตามลุ่มน้ำอันมีอาณาเขตแคบๆ ซึ่งบางแห่งกว้างประมาณสิบไมล์เท่านั้นเอง นี้แหละที่อารยธรรมของอียิปต์ได้เจริญงอกงามขึ้นและเกิดนครใหญ่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนหลายต่อหลายนคร นอกจากจะอำนวยปุ๋ยอันโอชะให้ดังกล่าวแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังเป็นเส้นทางคมนาคมของประเทศและนำออกสู่ทะเลใหญ่อีกด้วย
ความ ก้าวหน้าในอารยธรรมของอียิปต์ ขั้นแรกที่เราทราบก็คือ อารยธรรมที่เกี่ยวกับวิธีการทำนาของเขา โดยเหตุที่ในอียิปต์นั้นฝนแทบจะไม่ตกเลย ชาวนาจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีทำให้นาของตนมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ในอียิปต์ภาคสูง คือในตอนต้นน้ำไนล์มีฝนตกชุกในฤดูสปิง เมื่อฝนไหลท่วมท้นมาและล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำนั้นชาวอียิปต์ก็หาวิธีที่จะขัง น้ำนี้ไว้ใช้ในฤดูน้ำลด และถ่ายเทไปตามคูเล็กๆ ซึ่งตัดผ่านไปตามท้องไร่ท้องนา นี้เป็นเครื่องมืออันแรกอันหนึ่ง ที่มนุษย์คิดขึ้นสู้กับธรรมชาติ

ผู้สร้าง อายุสมัย

ผู้สร้าง อายุสมัย






             ความเป็นมาแต่แรกของอียิปต์โบราณนั้นไม่รู้จักกระจ่างนัก รู้แต่เพียงว่าดินแดนอียิปต์
โบราณถูกยึดครองโดยชาวลิบยานทางตะวันตกเฉียงเหนือ เซมิติคทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิโกรทางใต้ ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
 
1. สมัยก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)
2. สมัยราชวงศ์ (The Dynastic Period)
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The Period of Invasion) 

1. สมัยก่อนราชวงศ์ เป็น ช่วงระยะเวลาประมาณ 4,500-3,110 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้าตั้งมั่นบริเวณลุ่มน้ำไนล์แล้ว มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม มีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม ขณะเดียวกันมักแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน ในที่สุดดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
 
     1. อียิปต์บน หรืออียิปต์ตอนใต้ (The Uppe Egypt or The Southern Egypt or The Narrow Valley) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนใน บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบและเกาะแก่งน้ำตก พื้นที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้้คนอยู่บางเบา
     2. อียิปต์ล่าง หรืออียิปต์ทางตอนเหนือ (The Lower Egypt of the Northen Egypt or The Nite Deits) หมาย ถึงดินแดนอียิปต์ตอนนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินแดนตอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์นั้นพื้นที่เหมาะ แก่การเพาะปลูกผู้คนอยู่หนาแน่นความเจริญเท่าที่ปรากฎในช่วงนี้คือ ความเจริญทุกอย่างของมนุษย์ที่สามารถทำได้ในยุคหิน รวมถึงรู้จักการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์และการชลประทาน
2. สมัยราชวงศ์ เป็น ช่วงระยะเวลาประมาณ 3100-940 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณได้ก่อตั้งขึ้นและผู้นำชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้ ดำเนินการปกครองดินแดนอียิปต์เองเป็นส่วนใหญ่ สมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
 
     1. สมัยต้นราชวงศ์ (The Protodynastic Period)
     2. สมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom)
     3. สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)
     4. สมัยอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ (The New Kingdom or the Empire Age)


2. สมัยต้นราชวงศ์ (3110-2,665 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 1-2 เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน อียิปต์โบราณสิ้นสุดลงโดยความสามารถของผู้นำอียิปต์บนคือเมเนส (Menes) รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3110 B.C. และยกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 1 กำหนดให้เมมฟิสในอียิปต์ล่างเป็นเมืองหลวง แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกันก่อตั้งเป็นชาติขึ้น แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า Land of Two Lands หลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก 


สมัยอาณาจักรเก่า (2225-2180 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะเกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีปิรามิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง ปิรามิดแห่งแรกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์โจเซอร์ ในราชวงศ์ที่ 3 ที่เมืองสควารา และเพราะมีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม และสถาปัตยธรรมเจริญมากในราชวงศ์ที่ 4 ประจวบกับกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองเป็นผลให้เกิดปิรามิดใหญ่ที่สุดขึ้น ปิรามิดอันนี้เป็นของกษัตริย์คูฟุ (Khufu) อยู่ที่เมือง กีซา (Giza) สมัยอาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง ในราชวงศ์ที่ 6 เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ความทะเยอทะยานแย่งชิงอำนาจของขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่าโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นผลให้เป็นเวลาร่วมสองศตวรรษที่อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลาง เมืองขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางช่วงดังกล่าว นี้เรียกว่า ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่หนึ่ง
ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่1 (The First Federal 2180-2052 B.C.)เป็นช่วงระหว่างปลายสมัยอาณาจักรกลาง ในช่วงนี้ขุนนางมีอำนาจตั้งราชวงศ์ที่ 7-11 ปกครองอียิปต์โบราณ กล่าวคือที่เมืองธีปส์ (Thebes) ในอียิปต์บน ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองของราชวงศ์ที่ 7 และที่ 8 ต่อมาขุนนางที่เมืองเฮราเคบโอโปลิส (Herclepopolis) ในอียิปต์ล่างได้ตั้งราชวงศ์ที่ 9-10 ขึ้น ขณะที่อยู่ในราชวงศ์ที่ 10 (2100-2052 B.C.) ปรากฎว่าได้มีการจัดตั้งราชวงศ์ที่ 11 (2134-1999 B.C.) ขึ้นที่เมืองธีปส์ควบคู่กันขึ้นมา เป็นผลทำให้เกิดสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงอำนาจและดินแดนกัน 


สมัยอาณาจักรกลาง (2052-1786 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 11 ตอนปลายกับราชวงศ์ที่ 12 เริ่มด้วยกษัตริย์เมนตูโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2) กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11 แห่งธีปส์ปราบปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลางอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 12 กษัตริย์ที่สามารถคือ อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat) ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเซียน 


สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ (1554-1090 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 18-20 มีธีปส์เป็นเมืองหลวง จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะกษัตริย์เก่งในการรบ การปกครอง อียิปต์โบราณต้องทำสงครามยาวนานกับฮิตไตท์ พระให้การสนับสนุนกษัตริย์ อำนาจของขุนนางหมดไป ในสมัยนี้อียิปต์โบราณมีนโยบายรุกรานชุมชนใกล้เคียงมุ่งขยายอำนาจและการ ป้องกันการรุกรานของศัตรูภายนอก ดินแดนอียิปต์ขยายกว้างใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมากและแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา กษัตริย์ที่ควรกล่าวคือ 







     1. อาเมส (Ahmose 1 or Amosis) เป็นผู้ขับไล่ฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จพร้อมทั้งสามารถกำจัดอำนาจขุนนาง และเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 ก่อตั้งสมัยอาณาจักรใหม่ขึ้น
     2. อเมนโฮเตปที่ 1 และทัสโมสที่ 1 (Amenhopet 1 Thutmose 1) ทั้งสองพระองค์นี้เก่งในการรบ ขยายจักรวรรดิออกไป
     3. พระนางฮัทเซฟซุท (Hatshepsut) มเหสีของทัสโมสที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกของอียิปต์และเป็นนักปกครองหญิงที่สามารถคนแรก ของโลก (The First Capable Woman Rule in the Cirillzed World) ภายหลังพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง ทรงปกครองอียิปต์นานถึง 40 ปี ทรงฟื้นฟูการค้า ศิลปกรรมและสถาปัตยธรรม
     4. ทัสโมที่ 3 (Thutmose 3) ขึ้นปกครองจริงในปี 1469 B.C.ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางฮัทเซฟซุท ทรงเก่งในการรบ ทำสงครามประมาณ 17 ครั้งเพื่อปราบศัตรูในดินแดนทางตะวันออก ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังว่าเป็นนโปเลียนแห่งอียิปต์ ขณะเดียวกันได้ให้การศึกษาเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี โดยหวังว่าเมื่อเด็กเหล่านั้นได้กลับดินแดนตนและขึ้นเป็นใหญ่จะจงรักภักดี ต่ออียิปต์ ทรงสั่งให้ลงชื่อของนางฮัทเซฟซุทออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอใจที่พระนาง ขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์
     5. อเมนโฮเต็ปที่ 4 (Amenhotep 4) เป็นกษัตริย์นักปฏิรูปศาสนาของอียิปต์โบราณ เพราะทรงกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณเคารพบูชาเฉพาะสุริยเทพหรืออะตัน (Aton) อันถือได้ว่าการริเริ่มความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism)
     6. ตูแตงคามอน (Tutankhamon) ปกครองอียิปต์ต่อจากอเมนโฮเต็ปที่ 4 ทรงประกาศยกเลิกศาสนาของอเมนโฮเต็ปที่4 และกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณหันมาศรัทธาในเทพเจ้าอะมอนเร และเทพเจ้าอื่นๆ ดังเดิม ตลอดจนย้ายเมืองหลวงกลับธีปส์
     7. รามซีสที่ 2 (Ramses 2) ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย ทรงเก่งในการรบทรงนำดินแดนที่สูญเสียไปในสมัยอเมนโฮเต็ปที่ 4 กลับคืนมาเป็นของอียิปต์ดังเดิมและทรงยุติสงครามกับฮิตไตท์ในการรบที่คาเดช (Kadesh) โดยอียิปต์ได้ปาเลสไตน์ ฮิตไตท์ได้ซีเรีย ทรงปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส ทรงเป็นนักรักเพราะทรงมีโอรส 100 คน มีธิดา 50 คน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 90 ปี ครองราชย์ 67 ปี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ปรากฎว่าจักรวรรดิ์โบราณก็เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับ เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ขุนนางก่อความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันพระขึ้นปกครองอียิปต์ครั้งราชวงศ์ที่ 21 ขึ้นที่เมืองทานิส (Tanis) และอียิปต์ถูกรุกรอียิปต์และแม่น้ำไนล์
เรื่อง ราวของอียิปต์ก็คือเรื่อง ราวของแม่น้ำไนล์ เป็นคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ด้วยเหตุว่าดินแดนอันเป็นประจำทุกปีนั้น แม่น้ำไนล์จะนำเอาปุ๋ยอันโอชะขึ้นไปลาดไว้บนทั้งสองฝั่งน้ำ ทำให้ดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นดินอุดม มีพืชพันธ์ธัญญาหารเกิดขึ้นได้งอกงาม และตามลุ่มน้ำอันมีอาณาเขตแคบๆ ซึ่งบางแห่งกว้างประมาณสิบไมล์เท่านั้นเอง นี้แหละที่อารยธรรมของอียิปต์ได้เจริญงอกงามขึ้นและเกิดนครใหญ่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนหลายต่อหลายนคร นอกจากจะอำนวยปุ๋ยอันโอชะให้ดังกล่าวแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังเป็นเส้นทางคมนาคมของประเทศและนำออกสู่ทะเลใหญ่อีกด้วย
ความ ก้าวหน้าในอารยธรรมของอียิปต์ ขั้นแรกที่เราทราบก็คือ อารยธรรมที่เกี่ยวกับวิธีการทำนาของเขา โดยเหตุที่ในอียิปต์นั้นฝนแทบจะไม่ตกเลย ชาวนาจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีทำให้นาของตนมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ในอียิปต์ภาคสูง คือในตอนต้นน้ำไนล์มีฝนตกชุกในฤดูสปิง เมื่อฝนไหลท่วมท้นมาและล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำนั้นชาวอียิปต์ก็หาวิธีที่จะขัง น้ำนี้ไว้ใช้ในฤดูน้ำลด และถ่ายเทไปตามคูเล็กๆ ซึ่งตัดผ่านไปตามท้องไร่ท้องนา นี้เป็นเครื่องมืออันแรกอันหนึ่ง ที่มนุษย์คิดขึ้นสู้กับธรรมชาติ 


3.สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน   940 B.C. เรื่อยมา สมัยนี้ชนภายนอกปกครอง






 
อียิปต์โบราณเป็นระยะเวลายาวนานกล่าวคือ
 
     1. ลิบยาน (Libyans) ปกครองระหว่าง 940-710 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 22-24
     2. เอธิโอเปียน (Ethiopians) ปกครองระหว่าง 736-657 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 25
     3. อัสซีเรียน (Assyrians) ปกครองระหว่าง 664-525 B.C.
     4. เปอร์เซียน (Perians) ปกครองระหว่าง 525-404 B.C.
     5. เปอร์เซียนปกครองอียิปต์ครั้งที่สองระหว่าง 341-332 B.C.
     6. กรีก (Greeks) ปกครองระหว่าง 332-30 B.C. 

ลักษณะอารยธรรมอียิปต์โบราณ

1. สภาพสังคม สังคมอียิปต์โบราณเปรียบได้กับรูปสามเหลี่ยมจัดแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ
 
     1. กษัตริย์และราชวงศ์ถูกกำหนดให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุด กษัตริย์สามารถมีมเหสีและสนมได้มากมาย ตลอดจนสนมอาจเป็นพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกับมนุษย์
     2. พระและขุนนาง มีบทบาททางด้านศาสนาและการปกครอง ชนทั้งสองกลุ่มนี้จัดเป็นชนชั้นสูงรองจากกษัตริย์
     3. ชนชั้นกลาง ได้แก่ พ่อค้า ช่างฝีมือและศิลปิน
     4. ชนชั้นต่ำ ได้แก่ ชาวนาซึ่งจัดเป็นชนชั้นส่วนใหญ่ของดินแดนสภาพของชาวนาอยู่ในรูปข้าติดที่ดิน ชาวนาเป็นกำลังสำคัญในกองทัพและเป็นแรงงานหลักในการสาธารณะประโยชน์
     5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดถูกกวาดต้อนมาภายหลังพ่ายแพ้สงคราม
 
2. การประกอบอาชีพ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ 

     1. การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์จัดเป็นอาชีพหลัก เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 4000 B.C. อาชีพดังกล่าวนิยมทำแถบลุ่มน้ำไนล์ พืชที่นิยมปลูกคือข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ต้นแฟล็กซ์ตลอดจนผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
     2. การค้า เริ่มปรากฎเมื่อประมาณ 4000 B.C. โดยนิยมทำการค้ากับคนในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมโสโปเตเมีย และอาระเบีย เป็นต้น
     3. การทำเหมืองแร่ ทองแดงเป็นแร่ธาตุที่ชาวอียิปต์เริ่มขุดมาเมื่อประมาณ 4000 B.C. โดยทำกันในแถบไซนาย พลอยและทองคำขุดบริเวณเทือกเขาตะวันออก
     4. งานฝีมือ ได้แก่งาน ปั้น งานหล่อ งานทอผ้า เป็นต้น 

3. การปกครอง ลักษณะ การปกครองเป็นแบบเทวธิปไตย (Theocracy) กล่าวคือ ผู้ปกครองอ้างดำเนินการปกครองในนามหรืออาศัยอำนาจของเทพเจ้าเพื่อใช้ในการ ปกครองกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการปกครองได้แก่ 

     1. กษัตริย์หรือฟาโรห์ (Pharaoh) ฟาโรห์ เป็นผู้ที่ชาวอียิปต์โบราณยอมรับว่าเป็นเทพเจ้าและเป็นกษัตริย์ในเวลาเดียว กัน หน้าที่ของฟาโรห์คือเป็นผู้นำทางการปกครองและศาสนา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการปกครองเกิดจากการกำหนดขึ้นของกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าของชีวิตของ ชาว
อียิปต์โบราณ
     2. ขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือวิเชียร (Vizier) เป็นตำแหน่งใช้เรียกผู้บริหารที่สำคัญรองจากกษัตริย์ ตำแหน่งนี้ในสมัยราชวงศ์ต้นสงวนเฉพาะสำหรับราชโอรส แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงตกทอดแก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่และมีการสืบทอดแก่คนใน ตระกูลเดียวกัน
     3. ขุนนาง (Noble) ทำหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานที่สำคัญ เช่น ในการเก็บภาษีและการชลประทาน เป็นต้น
     4. ขุนนางมณฑลหรือผู้ว่าการมณฑลหรือโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นตำแหน่งข้าหลวงประจำตามมณฑลหรือเมืองที่ห่างไกลจากเมืองหลวง มณฑลหรือเขตนั้นเรียกว่านอม (Nome)ขุนนางประเภทนี้มักก่อกบฎว่าวุ่นวายและเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ อาณาจักรสมัยต่างๆ ในอดีตต้องเสื่อมลง 

4. ศาสนา เรื่องของศาสนาอียิปต์โบราณนั้นควรกล่าวในลักษณะ 3 ประเด็น 

     1. ชาว อียิปต์โบราณเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ เพราะความหวาดกลัวเชื่อและบูชาในปรากฎการณ์ธรรมชาติทำให้ชาวอียิปต์โบราณ กำหนดเทพเจ้าขึ้นมากมาย ลักษณะเทพเจ้าในช่วงแรกนั้นมีรูปร่างเป็นสัตว์มากกว่ามนุษย์ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปร่างเทพเจ้าให้ดีขึ้น แต่เพราะชาติอียิปต์โบราณเกิดจาการรวมตัวของหลายชุมชน ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้เทพเจ้าของอียิปต์โบราณมีมากมายหลายองค์เทพเจ้าที่สำคัญคือ
     เทพเจ้าอะมอน-เร (Amon-Re) เป็นเทพเจ้าที่สูงสุดในมวลเทพเจ้าทั้งหลาย ของอียิปต์โบราณ เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและชีวิต ชื่อเทพเจ้าองค์นี้เกิดจากการนำเทพเจ้าอะมอนซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งอากาศและ ความอุดมสมบูรณ์ของเมืองธีปส์ มารวมกับเทพเจ้าเรซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ของเมืองเฮลิโอโปลิส ได้เป็นเทพเจ้าอะมอน-เร ผู้ทรงพลังและอิทธิฤทธิ์
เทพเจ้าโอซิริส (Osiris) เป็นเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำไนล์ เทพเจ้าแห่งความตาย และเทพเจ้าแห่งการตัดสินภายการตายเพื่อการเข้าสู่ภายหน้า
เทพเจ้าไอริส (Isis) คือ เทพีผู้เป็นมเหสีของเทพเจ้าโอซิริส เป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์
เทพเจ้าโฮรัส (Horus) เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ของชาวอียิปต์โบราณแถบดินแดนสามเหลี่ยม
     ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าเทพเจ้าแต่ละองค์ควรมีสัตว์ไว้คอยรับใช้ดัง นั้นจึงมีการสมมติสัตว์รับใช้ดังกล่าวให้เทพเจ้า เช่น แกะตัวผู้เป็นสัตว์รับใช้ของเทพเจ้าอะมอน-เร เป็นต้น สำหรับเรื่องการบวงสรวงนั้นพระเป็นผู้ประกอบพิธี และได้รับค่าจ้างตอบแทน
     2. ชาวอียิปต์โบราณเชื่อในความเป็นอมตะของวิญญาณ คำตัดสินครั้งสุดท้ายและโลกหน้า ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าภายหลังความตายที่ทำความดีจะฟื้นขึ้นมาและเข้าพำนัก ในโลกหน้าซึ่งน่าอยู่และอุดมสมบูรณ์เช่นอียิปต์ จากความเชื่อนี้ทำให้เกิดการเก็บรักษาไว้เรียกว่า มัมมี่ (Mummy) มัมมี่นิยมทำเฉพาะกับกษัตริย์ คนธรรมดาจะฝังเท่านั้น มัมมี่จะถูกนำไปวางลงในหีบศพพร้อมม้วนกระดาษรู้จักในนามคัมภีร์ผู้ตาย (Book of the Dead)(1) คัมภีร์ผู้ตายที่ถูกต้องนั้นต้องเขียนโดยพระ ข้อความในคัมภีร์นั้นล้วนชี้แจงว่าผู้ตายกระทำดีเป็นหลักในโลกมนุษย์ทำชั่ว บ้างเล็กน้อย เทพเจ้าโอซิริสเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการตัดสินครั้งสุดท้ายถึงการให้ วิญญาณดังกล่าวเข้าสู่โลกหน้าที่สมบูรณ์ได้หรือไม่ หีบศพและสมบัติของผู้ตายจะถูกนำวางไว้สุสานหินเรียก ปิรามิด (Pyramid) สฟิงค์ (Sphinx) เป็นสัตว์ประหลาดที่แกะสลักจากหินนำวางไว้หน้าปิรามิดเพื่อทำหน้าที่เฝ้าศพ และสมบัติของผู้ตายที่บรรจุไว้ในปิรามิด
     3 ศาสนาของกษัตริย์อเมนโฮเต็ปที่ 4 จุดประสงค์ในการปฏิรูปศาสนาของอะเมนโฮเต็ปที่ 4 คือ การมุ่งนำชาวอียิปต์โบราณให้พ้นจากความเชื่อในศาสนาอียิปต์โบราณที่บูชาใน เทพเจ้าหลายองค์ (Polytheism) และมุ่งนำชาวอียิปต์โบราณให้พ้นจากอำนาจของพระ ศาสนาใหม่ของอะเมนโฮเต็ปกำหนดให้บูชาเฉพาะเทพเจ้าอะตัน (Aton) เพียงองค์เดียว ทรงสอนว่าเทพเจ้าอะตันเป็นเทพเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตนเป็นบิดาของมนุษย์ การเข้าถึงเทพเจ้าอะตันทำได้โดยสักการะด้วยดอกไม้ของหอมมิใช่ทำสงครามหรือทำ พิธีบวงสรวงด้วยชีวิตสัตว์ ทรงสั่งปิดวิหารของเทพเจ้าทั้งหลายทรงปฎิเสธความเชื่อเรื่องการฟื้นจากความ ตายและโลกหน้า ทรงปฏิเสธการทำสงครามกับศัตรู เพราะทรงเชื่อว่าเทพเจ้าอะตันคือบิดาของมวลมนุษย์และการทำสงครามจะทำให้เทพ เจ้าอะตันไม่พอใจ เพื่อแสดงความศรัทธาในเทพเจ้าอะตันทรงเปลี่ยนพระนามพระองค์เป็น อัคนาตัน (Akhanaton) ทรงย้ายเมืองหลวงจากธีปส์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาของเทพเจ้าอะ มอน-เร มาอยู่ที่เมืองอัคตาตัน (Akhatatton or Amarna) ห่างจากธีปส์ขึ้นไปทางเหนือประมาณร้อยไมล์ การปฏิรูปศาสนาของพระองค์ทำให้เกิดผลเสียทั้งภายในจักรวรรดิ์และภายนอกจักร วรรดิ์กล่าวคือพระในเทพเจ้าอะมอน-เร โดยเฉพาะที่เมืองธีปส์ตั้งตนเป็นศัตรูเพราะพระพวกนี้ขาดรายได้ และสถานภาพของพระที่เคยได้รับจากสังคมอียิปต์โบราณต้องลดน้อยลง และอียิปต์เองต้องเสียดินแดนซีเรียกับปาเลสไตน์ให้แก่ฮิตไตท์ 

5. ศิลปการเขียน ศิลปการ เขียนของอียิปต์โบราณเริ่มเมื่อประมาณ 300 B.C. การบันทึกทำเป็นอักษรภาพ รู้จักในนามอักษรภาพเฮียโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ต่อมาเพื่อให้การเขียนง่ายขึ้นไม่สลับซับซ้อน ได้พัฒนาการเขียนให้มีตัวอักษรภาพน้อยลงเรียกอักษรเฮราติค (Hieratic) ภารเขียนทั้งสองแบบนี้เขียนได้ในหมู่พระเท่านั้น ในประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลได้มีการพัฒนาการเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิมมุ่งให้เขียนง่ายขึ้น ตัวอักษรภาพลดจำนวนน้อยลงและจำนวนผู้ที่สามารถเขียนได้มากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวทำให้อักษรภาพลดเหลือเพียง 24 ตัว เรียกตัวอักษรเดโมติค (Demotic) นอกเหนือจากการจารึกบนแผ่นหินแล้วชาวอียิปต์โบราณเป็นพวกที่คิดทำกระดาษขึ้น โดยทำจากเยื่อต้นอ้อ (Papyrus) โดยนำต้นอ้อที่มีขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำไนล์มาลอกเอาเยื่อออกวางซ้อนกันตากให้ แห้งกลายเป็นกระดาษ ก้านอ้อแข็งคืออุปกรณ์ที่ใช้เขียน ยางไม้ผสมสีใช้เป็นหมึก จากชัยชนะในการเขียนและการค้า ทำให้ศิลปการเขียนของอียิปต์แพร่หลายออกไป 

6. ด้านวิทยาศาสตร์ ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ของอียิปต์โบราณที่ควรกล่าวถึงคือ 

     1. การทำปฏิทิน อียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินโดยยึดหลักสุริยคติกล่าวคือ 1 ปีมี 12 เดือน 30 วัน อีก 5 วันสุดท้ายถูกกำหนดเพ่ือการเฉลิมฉลองการกำหนดฤดูถือตามหลักความเป็นไปของ ธรรมชาติและการเพาะปลูก 1 ปีมี 3ฤดูๆละ 4 เดือน เริ่มจากฤดูน้ำท่วมหรือน้ำหลาก (The Flood of River Nite) ฤดูที่สองคือ ฤดูเพาะปลูกหรือไถหว่าน (The Period of Cultivation) ฤดูที่สามคือ ฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล (The Period of Havesting) การที่ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ชัดความเจริญและความสามารถโดยแท้จริง 

     2. การแพทย์ มัมมี่มีส่วนชี้ให้เห็นถึงความสวยงามทางการแพทย์ของอียิปต์โบราณซึ่งแอ็ดวิ นสมิธเป็นผู้พบข้อความทั้งหมดถูกบันทึกไว้เมื่อประมาณปี 1600 ระบุแสดงความสามารถของแพทย์อียิปต์โบราณด้านการผ่าตัดกระโหลก ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การวิจัยและรักษาโรคต่างๆ 

     3 คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเลขาคณิตอียิปต์โบราณเจริญมาก กล่าวคือ สามารถคำนวณหาพื้นที่ของสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมคางหมูและวงกลมได้ ตลอดจนชำนาญในการวัดที่ดิน ความสามารถในด้านคณิตศาสตร์มีส่วนช่วยอย่างมากในงานสถาปัตยกรรม 

7. ด้านสถาปัตยกรรม ชาว อียิปต์โบราณเป็นหนึ่งในกลุ่มนักสร้างถาวรวัตถุผู้ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ ผลงานเกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แขนงเรขาคณิตและคณิตศาสตร์บวกกับความสามารถ และความชำนาญ ความสามารถและความเด็ดขาดของผู้นำ ผลงานเด่นทางสถาปัตยกรรมที่ควรแก่การกล่าวถึงเช่น 

     1. ปิรามิดยักษ์ที่เมืองกิซา เป็นปิรามิคของพระเจ้าคูฟู (Khufu or Cheops) สร้างเมื่อประมาณปี 2600 B.C. ใช้ก้อนหินประมาณ 2300,000 ก้อน แต่ละก้อนหนักกว่า 2 ตัน ใช้แรงงานคนสกัดหินทุกก้อนด้วยสิ่วและค้อนอย่างยากลำบาก ประณีตและชำนาญ ปิรามิดนี้สร้างบนเนื้อที่ประมาณ 12 เอเคอร์ ฐานกว้าง 755 ฟุต สูง 481 ฟุต จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลกโบราณ
     2. วิหารคาร์นัคแห่งเมืองธีปส์วิหารนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นอาคารใหญ่สุดของ อียิปต์โบราณ ยาว 338 ฟุต กว้าง 170 ฟุต ใช้เสาหินกลมสูง 79 ฟุต รองรับหลังคา

8. วรรณกรรม วรรณกรรมเด่นของอียิปต์โบราณแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

     1. วรรณกรรมเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่คัมภีร์ผู้ตาย คัมภีร์นี้มุ่งแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริส เพื่อการเข้าสู่โลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์และสุขสบายเช่นอียิปต์โบราณ นอกจากนี้ยังมีบทสรรเสริญของพระเจ้าอเนโฮเต็ปที่ 4 ต่อเทพเจ้าอะตัน เป็นต้น
    2. วรรณกรรมไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่งานสลักบันทึกเหตุการณ์ตามเสาหินหรือผนังปิรามิด เป็นต้น 

9. ชลประทาน อียิปต์ โบราณต้องพึ่งแม่น้ำไนล์เพื่อใช้ในการเพาะปลูกประมาณเมื่อ 4200 B.C. อียิปต์โบราณค้นพบวิธีเก็บกักน้ำและส่งน้ำเข้าพื้นที่ตอนในด้วยการขุดคูคลอง ระบายน้ำต่างระดับและทำทำนบกั้นน้ำ วิธีการดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นการริเริ่มการชลประทาน
10. ศิลปกรรม ศิลปกรรมแรกเริ่มมุ่งเพื่อรับใช้ศาสนาโดยการวาดหรือปั้นรูปเทพเจ้า นอกจากนี้ศิลปกรรมเด่นอื่นๆ ที่ควรกล่าวถึงได้แก่

     1. ภาพแกะสลัก (Sculpture) ได้แก่สฟิงซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หน้าปิรามิคของกษัตริย์คูฟู ลำตัวเป็นสิงโตหมอบมีความยาว 13 ฟุต กว้าง 8 ฟุต แกะสลักมาจากหิน
     2. รูปปั้นหรือรูปหล่อ (Statue) นิยมปั้นหรือหล่อเฉพาะครึ่งตัวบนของจักรพรรดิ์ เช่น รูปปั้นหรือรูปหล่อครึ่งตัวบนของพระนางฮัทเซฟซุทกษัตริย์ทัสโมสที่ 2 กษัตริย์อเมนโฮเต็ปที่ 4 และมเหสี กษัตริย์รามซีสที่ 2 เป็นต้น
     3. ภาพแกะสลักฝาผนัง ภาพแกะสลักฝาผนังที่มีชื่อคือภาพการต่อสู้ของพระเจ้ารามซีสที่ 2 กับฮิตไตท์ที่วิหารคาร์นัค ภาพนี้ยาว 170 ฟุต
     4. ภาพวาด ภาพวาดนี้นิยมวาดตามผนังและเพดานของวิหาร พระราชวัง และปิรามิค ภาพวาดจัดเป็นศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะทำให้ชนรุ่นหลังได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพสังคม การปกครอง การค้า การแต่งกาย และประเภทของเครื่องใช้เป็นต้น จากการค้นพบสุสานของกษัตริย์ตูเตงกามอนในปี 1992 ได้สร้างความประทับใจอย่างมากให้กับนักประวัติศาสตร์เพราะได้พบของมีค่ามาก มายล้วนมีคุณค่าแสดงออกซึ่งความเจริญของ
อียิปต์โบราณอันมีส่วนช่วยให้นักประวัติศาสตร์สามารถกำหนดขีดแห่งอารยธรรมและสภาพสังคมของอียิปต์โบราณในช่วงนั้น





 
          สรุปได้ว่าชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้กำเนิดอารยธรรมอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ขึ้น แถบลุ่มแม่น้ำไนล์อารยธรรมอียิปต์โบราณที่เกิดขึ้น ได้แก่ ด้านสังคม การประกอบอาชีพ การปกครองซึ่งประกอบเป็นชาติขึ้น ศาสนาซึ่งย้ำเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ การพิพากษาระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า ศิลปการเขียน ความเจริญดังกล่าวมิใช่เฉพาะทำให้ชีวิตของชาวอียิปต์โบราณสุขสบายเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยทำให้มนุษย์ในแหล่งต่างๆ ของโลกได้ร่วมก้าวหน้าติดตามไปด้วยเพราะสืบทอดรับความเจริญ ดังที่อัธยา โกมลกาญจน และคณะกล่าวสรุปความเจริญของอียิปต์ในราชวงศ์ต่างๆ ไว้ดังต่อไปนี้

รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม



ชาวอียิปต์   จัดเป็นนักช่างสังเกตที่ฉลาด      สังเกตความขึ้นลงของแม่น้ำ อันเป็นกฎของธรรมชาติ   แล้วเรียบเรียงเป็นปฏิทิน  สังเกตโครงสร้างของพืชว่าสามารถนำมาทำประโยชน์ได้  จึงสร้างกระดาษขึ้น  ใน ขณะเดียวกันก็รู้จักการขีดเขียนบันทึกภาพต่าง ๆดัดแปลงให้เป็นตัวอักษรภาพที่มีชื่อว่า
ไฮโรกรอฟฟิค แต่สิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดคือ  ความเชื่อในการสร้างผลงาน  คือ
        1.เชื่อว่าโลกหน้ามีความสำคัญมากสำหรับมนุษย์
        2.เชื่อในพระเจ้าหลายองค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ฟาโรห์   ถือเป็นพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่


       

 3.เชื่อว่าหลักการ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางศิลปะเป็นความสำคัญที่ต้องเคารพนับถือ
           ผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นในสมัยอียิปต์   แบ่งตามลักษณะของรูปแบบ และการปกครองแบ่งออกได้ เป็น  3  สมัยคือ
        1.สมัยอาณาจักรเก่า
        ผลงานที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมหลุมฝังศพ  และประติมากรรม  มากกว่าจิตรกรรม  โดยพยายามสร้างตามความเชื่อดังกล่าวมาแล้ว ลักษณะของผลงานมีดังต่อไปนี้
       1.ประติมากรรม
        1.1.มีลักษณะเน้นความงามด้านหน้า  ตามหลักของการมองเห็นตรงหน้า
        1.2.ประติมากรรมเป็นรูปคน  มักจะมีลักษณะคล้ายผู้ที่เป็นหุ่น ด้วยความเชื่อว่าวิญญาณจะกลับเข้าร่างเดิมได้ 
       



1.3.ผลงานทางประติมากรรม  มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกวัสดุ เพื่อนำมาสร้างสำหรับบุคคลที่เป็นที่รัก  และเคารพมาก เช่นเลือกวัสดุที่มีค่า  สร้างเป็นบุคคลที่รักมากที่สุด เป็นต้น
1.4.ประติมากรรม หิน   ที่สกัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยม   จะแสดงท่าทางยื่นโปนออกจากแท่งสี่เหลี่ยมไม่ได้ เพราะคุณสมบัติของหิน  และจากเหตุนี้เองจึงเป็นผลทำให้ประติมากรรมคนนั่งมีท่าทางโดยเฉพาะขึ้น
        2.สถาปัตยกรรม
        ผลงานที่สร้างสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    ปิระมิด   ซึ่งนิยมสร้างกันมากที่สุด   รวมอยู่ใกล้ ๆ กัน   จนมีชื่อว่า บริเวณหุบผากษัตริย์








        3.จิตรกรรม
        จิตรกรรม จะเป็น จิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
        1.มีรูปแบบเรียบ ตัดเส้นรอบนอกชัดเจนด้วยสีหนัก และระบายสีบริเวณภายในรูปแบบด้วยสีเรียบๆ ซึ่งมีทั้งรูปคนและรูปสัตว์
        2.การสับด้านรูปคน มีลักษณะเด่นคือ เขียนส่วนหัวเป็นรูปด้านข้าง  คอด้านข้าง บริเวณทรวงอกด้านหน้า    ท่อนขาและเท้าจะเป็นรูปด้านข้าง
        3.ลักษณะของภาพแสดงให้เห็นถึงฐานะของคนในภาพเช่นฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่ราชินีรองลงมา
        ผลงานในอาณาจักรเก่า  แสดงความเชื่อในโลกข้างหน้าอย่างเด่นชัด และเชื่อว่าฟาโรห์เป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจ





  2.สมัยอาณาจักรกลาง
        อำนาจ หมายถึงความสามรถที่จะบังคับให้ผู้อื่นทำตามความต้องการของตนได้ และเมื่ออำนาจมากเท่าใด  ย่อมทำให้ผู้มีอำนาจบังเกิดความหลงมัวเมาในอำนาจและย่อมสลายไปในที่สุด
        ในสมัยกลางความเชื่อของประชาชนในทางพิธีกรรม และศาสนามีมากขึ้น ประชาชนต้องการที่พึ่งทางใจมากขึ้น   ผลงานที่มุ่งสนองความต้องการของสังคมจึงมีลักษณะดังต่อไปนี้
        1.รู้จักเผ่าอิฐเพื่อใช้ก่อสร้าง และ ปิระมิดให้เล็กลงเพื่อเก็บศพของคนชั้นกลางและพระ  สมัยนี้นิยมสร้างวิหารเพื่อราชินี และพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ
        2.ทางประติมากรรม ผู้สร้างพยายามเน้นความเหมือน ความงามตามธรรมชาติ  เพิ่มความสละสลวยอ่อนหวานมากขึ้น  นอกจากนี้ยังสอดแทรกความดีใจ เสียใจ ลงในประติมากรรมด้วย

     
   3.สมัยอาณาจักรใหม่
        ในสมัยใหม่  ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าเพิ่มมากขึ้น และ เชื่อกันว่า พระเจ้านั้นอยู่ใกล้ๆ กับมนุษย์  ซึ่งทำให้เกิดอิทธิพลต่อผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นมากมายจัดเป็นยุคของการ สร้างโบสถ์  วิหารที่เด่นที่สุด    ลักษณะผลงานที่มนุษย์สร้างทุกประเภทได้ดังนี้
      1.นิยมโครงสร้างวางพาด เพื่อใช้วิหาร ตามบริเวณหน้าผา หรือเรียกว่าวิหารเจาะตามหน้าผา
      2.เมื่อสร้างวิหาร ความจำเป็นเกี่ยวกับการตกแต่งหัวเสาก็ตามมา   โดยผู้สร้างดัดแปลงรูปทรงมา 
         จากธรรมชาติเป็นรูปแบบหัวเสา






     3.สถาปนิกพยายามสร้างรูปแบบให้มีความสมดุล ซ้าย ขวา สำหรับวิหารใหญ่ ๆ และนิยมนำ
       ประติมากรรมประดับสถาปัตยกรรมด้วย
     4.สามารถนำเอาจิตรกรรมฝาผนังมาสร้างความกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี
เมโสโปเตเมีย
      ในช่วงเวลาไล่เรี่ยกันกับความก้าวหน้าของอียิปต์  มนุษย์ ที่อาศัยอยู่ตามบริเวณระหว่างลุ่มแม่น้ำทางตะวันออกของอียิปต์ ก็สามารถสร้างผลงานทางศิลปะขึ้นและเหลือตกทอดอยู่มีคุณค่ามากในปัจจุบันนี้ มนุษย์ที่สร้างผลงานในเมโสโปเตเมียนี้ แบ่งออกได้เป็น  2 พวกคือ
        1. อินโด ยูโรเปียน  อยู่ทางตอนเหนือแถบภูเขา ตามที่ราบสูง เรียก  แอสสิเรีย
        2. ซิมิติกส์   อยู่ตอนใต้เรียก    บาบิโลเนียน
        1.สถาปัตยกรรม
        1.สถาปัตยกรรมนิยมใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้าง    มีขนาดใหญ่    เช่น   สถาปัตยกรรมซิเกอริท   เป็น เทวะสถานเพื่อเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์
        2.มนุษย์ผู้สร้างเข้าใจออกแบบโค้งกลมตามหน้าพระวิหารหรือตามสถาปัตยกรรมใหญ่ ๆ  ตัดกับผนังลาดเอียง  โดยคำนึงถึงแสงเงาที่ตกทอด
        2.ประติมากรรม
        1.ผู้สร้างนิยมหินทรงกลมนำมาสลักเป็นรูปบุคคลที่เคารพ เช่น พระ และผู้ครองประเทศ








        2.เรื่องราวของประติมากรรมเกี่ยวกับข้องกับกิจกรรมของกษัตริย์  ชัยชนะ การรบ
        3.การสร้างประติมากรรมด้วยโลหะตามวิธีทุบ แผ่ให้เป็นรูปแบบตามต้องการ เป็นที่นิยมมากและแสดงถึงความชำนาญทางโลหะเป็นอย่างดี
        4.นอกจากจะมีความเข้าใจในการขึ้นรูปแบบประติมากรรม  ตามคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาสร้างแล้วยังสามารถนำวัสดุต่าง ชนิดกันมาผสมเป็นประติมากรรมที่งดงามอีกด้วย
        ผลงานของบาบิโลน  นี้มีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้ผลงานของมนุษย์บริเวณบุ่มแม่น้ำไนล์แต่อย่างใด เป็นรูปแบบโดยเฉพาะ  บริเวณฐานจะเป็นทรงกลมและเน้นในลักษณะตรงไปตรงมา   เห็นอย่างไรก็สร้างอย่างนั้นขึ้น

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง




กลุ่มอนุสาวรีย์แห่งนูเบีย
 


           
 
 
กลุ่ม อนุสาวรีย์แห่งนูเบียตั้งแต่อาบู ซิมเบลจนถึงฟีลาเอ คือกลุ่มสิ่งก่อสร้างอียิปต์โบราณที่ตั้งบริเวณตอนใต้ของประเทศอียิปต์ ริมแม่น้ำไนล์ ในช่วงปี พ.ศ. 2500 ได้เกิดปัญหาขึ้นที่ว่ารัฐบาลอียิปต์มีแผนที่จะสร้างเขื่อนอัสวานขึ้น เพื่อป้องกันน้ำท่วมที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ในช่วงฤดูน้ำหลากของทุกปี ซึ่งถ้าเขื่อนสร้างแล้วเสร็จ สิ่งก่อสร้างต่างๆในบริเวณนี้จะต้องจมลงไปกับน้ำและด้วยเหตุนี้ องค์การยูเนสโกจึงได้เริ่มการระดมทุนเพื่อช่วยกอบกู้สิ่งก่อสร้างทั้งหลาย นี้ขึ้น ผลตามมาก็คือ ได้มีประเทศต่างๆกว่า 60 ประเทศได้บริจาคทั้งเงินและความช่วยเหลือ อนุรักษ์และศึกษา ซึ่งต่อมาทั่วโลกได้ตระหนักว่าควรจะมีองค์กรพิเศษเพื่อรักษาและอนุรักษ์สถาน ที่ ทั้งสิ่งก่อสร้างและธรรมชาติขึ้น จนเมื่อถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ในการประชุมใหญ่องค์การยูเนสโกครั้งที่ 17 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีการลงนามสนธิสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ซึ่งในอีก 3 ปีต่อมาประเทศกว่า 20 ประเทศได้ลงปฏิญาณร่วมกันและเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กลุ่มอนุสาวรีย์แห่งนูเบียนี้ก็ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วย
พีระมิดคาเฟร



พีระมิดคาเฟร หรือ พีระมิดคีเฟรน (Khafre, Chephren)

  
 
             
เป็นพีระมิดในประเทศอียิปต์ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงกีซา ชานกรุงไคโร
สร้างโดยคำบัญชาการของฟาโรห์คาเฟรผู้เป็นราชโอรสของ ฟาโรห์คูฟู ขึ้นปกครองอียิปต์โบราณ




พีระมิดคูฟู 

 
         
             
พีระมิดคูฟู หรือ พีระมิดคีออปส์ นิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า มหาพีระมิดแห่งกีซา (The Great Pyramid of Giza) เป็นพีระมิดในประเทศอียิปต์ที่มีขนาดใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิด ทั้งสามแห่งกีซา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยฟาโรห์คูฟู (Khufu) แห่งราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งปกครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล หรือกว่า 4,600 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระศพตามธรรมเนียมความเชื่อของชาวอียิปต์ในยุคนั้น มหาพีระมิดนี้ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน



พีระมิดเมนคูเร

 
           
พีระมิดเมนคูเร หรือ พีระมิดเมนคาวเร (Menkaure) เป็นหนึ่งในพีระมิดในประเทศอียิปต์ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงกีซา ชานกรุงไคโร สร้างโดยคำบัญชาของฟาโรห์เมนคูเร หรือชื่อในภาษากรีกคือฟาโรห์ไมซีรีนัส (Micerinus) ทรงเป็นราชโอรสของ ฟาโรห์คาเฟร