วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ที่ตั้ง ภูมิประเทศ

ที่ตั้ง ภูมิประเทศ





                    อียิปต์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ในสมัยโบราณบริเวณที่ีมีผู้คนอาศัยอยู่ได้แก่ ดินแดนที่อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ ทิศเหนือคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกคือทะเลแดง ทิศใต้คือประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบัน ส่วนทิศตะวันตกคือทะเลทรายซะฮารา อียิปต์โบราณประกอบด้วยบริเวณสองแห่งคืออียิปต์บน (Upper Egypt) และอียิปต์ล่าง (Lower Egypt) อียิปต์บนได้แก่ บริเวณที่มีแม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ 500 ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตา เต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ อียิปต์ล่าง ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เดลต้า เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำมีความยาวประมาณ 200 ไมล์ และกว้างระหว่าง 6-22 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้
          อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็น บริเวณกว้าง เมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูก
          ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ยซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำ มาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน กล่าวคือมีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์ แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย หากแต่ร่วมกันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือ กษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh)  



          สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้กษัตริย์อียิปต์สามารถรวบรวม และปกครองดินแดนทั้งหมดไว้ได้อย่างมั่นคงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ 


(1) ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก หรือพวกเอเซียทางทิศตะวันออกและพวกนูเบียจากทิศใต้ การป้องกันตนเองจึงไม่ใช่ปัญหาน่าหนักใจสำหรับผู้ปกครองอียิปต์
(2) แม่ น้ำไนล์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง และระบบประสาทในการรวมดินแดนเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่เรือแพล่องไปมาได้สะดวก โดยอาศัยการควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำไนล์ ผู้ปกครองก็สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน และการถ่ายเทของสินค้าได้โดยอัตโนมัติ และอาศัยแม่น้ำไนล์เป็นเส้นทางคมนาคม สำหรับการเดินเรือไปเก็บภาษีอากรจากประชาชนตลอดจนเป็นเส้นทางเดินทัพ นอกจากนี้การที่เขตอุดมสมบูรณ์จำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นแนวยาว ตามสองฟากฝั่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณนี้ก็ยังเอื้อให้ การปกครองประชาชนเป็นไปโดยง่าย
ความอุดมสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอที่ อียิปต์ได้รับจากแม่น้ำไนล์ ด้วยเหตุนี้นักภูมิศาสตร์ จึงเรียกอียิปต์ว่า ดอกผลแห่งแม่น้ำไนล์ (Gift of the Nile) ประกอบ กับสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นปราการป้องกันศัตรูจากภายนอกทำให้ชาวอียิปต์ โบราณมีความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัย มองไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงชีวิตดำเนินไปเหมือนกันหมด พลังผักดันจากภายนอกที่จะให้มีความปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมีอยู่น้อยมาก ด้วยเหตุนี้อารยธรรมอียิปต์จึงเจริญติดต่อกันมาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงระยะเวลาอันยาวนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น